สถิติ
เปิดเมื่อ8/01/2017
อัพเดท26/02/2017
ผู้เข้าชม587
แสดงหน้า1104
สินค้า
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




(เข้าชม 38 ครั้ง)

ความเป็นมาของขนมลูกชุบ

         ลูกชุบ เป็นขนมประจำถิ่นของชนชาติโปรตุเกส ในแคว้น อัลการวี  (Aigaeve) ที่เรียกว่า Massapa’es โดยจะใช้เม็ดอัลมอนด์เป็นส่วนผสมหลัก กวนกับน้ำตาลและน้ำมันมะกอก ประดิษฐ์ปั้นเป็นรูปต่างๆ ใช้สำหรับประดับหน้าเค้ก ซึ่งเข้ามาในไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231)  โดยผู้นำเข้ามาคือ มาดามดอนญา มาเรีย กิอูมาร์ เดอ ปินา  หรือที่รู้จักกันในนาม ท้าวทองกีบม้า (เพี้ยนเสียงจาก ‘กิอูมาร์’) โดยได้นำถั่วเขียวมาใช้แทนเม็ดอัลมอนด์ กลายเป็นขนมลูกชุบ ซึ่งการทำลูกชุบมักนิยมทำภายในวัง เพื่อรับประทาน และมอบให้แก่เด็กๆในช่วงเทศกาลสำคัญ

 

ลูกชุบไทยในปัจจุบัน    

          ปัจจุบันลูกชุบได้มีการทำอย่างแพร่หลายตั้งแต่ในระดับครัวเรือน จนถึงระดับโรงงาน โดยการดัดแปลงปั้นในลักษณะต่างๆ ให้มีความหลากหลายของรูปร่าง และสีสันมากขึ้น เช่น ปั้นเป็นรูปลูกหมู รูปนก และรูปหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการนำลูกชุบไปประดับตกแต่งบนหน้าเค้ก ไอศกรีม และการทำวุ้นลูกชุบ ซึ่งส่งผลให้มีผู้สนใจ และต้องการที่จะบริโภคลูกชุบเพิ่มมากขึ้น

 

            อีกทั้งยังมีการจัดตั้งโรงเรียนสอนทำลูกชุบ และการสาธิตการทำลูกชุบเกิดขึ้น  นอกจากนี้ ยังมีโครงการมากมายที่ถูกจัดทำขึ้น เพื่อให้การสนับสนุนขนมไทย เช่น โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP)  และโครงการอนุรักษ์ขนมไทย เป็นต้น

 

 

แนวโน้มลูกชุบในอนาคต

 

          ประเทศไทย เริ่มมีการนำลูกชุบมาใช้ในงานและเทศกาลต่างๆเพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น การปั้นเป็นรูปหัวใจในวันวาเลนไทน์ การจัดกระเช้าเพื่อมอบในวันปีใหม่ การจัดพานผลไม้มงคลเนื่องในวันเกิด ลูกชุบขนมไหว้พระจันทร์ เป็นต้น

 

          รวมทั้งเริ่มมีการผลิตเครื่องปั้นลูกชุบ เพื่อใช้แทนการปั้นด้วยมือ ส่งเสริมให้มีการขยายตลาดเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนคอยให้การสนับสนุน เช่น ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น

 

สรุป

          ลูกชุบในอดีตนั้น ทำขึ้นเฉพาะภายในวัง เพื่อมอบให้แก่เด็กในโอกาสที่สำคัญ แต่ในปัจจุบันได้มีการทำอย่างแพร่หลายขึ้น มีการสร้างรายได้ ตั้งแต่ธุรกิจระดับครัวเรือน จนถึงระดับโรงงานอุตสาหกรรม และในอนาคต ลูกชุบจะเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีการส่งออก และมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ อีกทั้งยังมีการเปิดคอร์ส สอนทำลูกชุบ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ลูกชุบไว้ให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบต่อไป

 

          สุดท้ายนี้ ลูกชุบจะคงอยู่สืบไป หากทุกคนหันมาร่วมกันอนุรักษ์ขนมไทยไว้ไม่ให้สูญหาย ด้วยการหันมา 'บริโภคขนมไทย' คนละไม้คนละมือ เพียงเท่านี้ขนมไทยก็จะอยู่คู่สังคมไทยสืบไป